วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Webblog ของ นางสาว นัชญารัตน์ ฟักแก้ว เพื่อใช้ในการเรียนรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

ตอบคำถามท้ายบทที่ 1

ตอบคำถามท้ายบทที่1
1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ตอบ
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้งานมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น
- Computer
- Flashdrive
- TV
- เครื่องเล่น DVD
- มือถือ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น
- งานจัดเตรียมเอกสาร
- งานกระจายเอกสาร
- งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่นโทรศัพท์

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมาลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่งเทคโนโลยีคอม ฯ กับเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น
- ตู้ ATM
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจเก็บไว้ใช้งาน
ฐานความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆ

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ ทำงานประมาลผลข้อมูลซึ่งเรียกว่าระบบการประมาณรายการ
2. ระดับที่สอง เป้นการใช้คอม ฯ จัดทำสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมเนื่องกับงานประจำวัน
3. ระดับที่สาม เป้นการใช้คอม ฯ จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวงแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6เดือน ถึง 1ปี ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการจัดการ
4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอม ฯ จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ยุคแรกเรียกว่ายุคประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era)
ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุมติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ เรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ(Information Resource Management)เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจในการนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

คำถามถายบทที่2

ตอบคำถามท้ายบทที่ 2

เรื่องที่ 2 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไป

- Hardware

เป็น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่อง

คอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ

อุปกรณ์รับข้อมูล ( Input Device)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลางผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่

- แป้นพิมพ์

- จอยสติกส์

- เครื่องอ่านบาร์โค้ด

- เมาส์

- สแกนเนอร์

- เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง

- เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก

- จอสัมผัส

- กล้องถ่ายภาพดิจิตอล

- ไมโครโฟน

2. อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล

การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจากภายใน โดย หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักขอโปรแกรม ข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล

โดยมส่วนสำคัญ 2 ส่วน

1.ส่วนควบคุม

หน้าที่ของสวนควบคม (Control Unit)

ควบคุมการทางานของอุปกรณ์ทุกอยางให้เป็นไปตามคาสั่ง

Ex. ควบคุมให้หน่วยรบขอมลอานขอมลเขา

Ex. หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ โดยคำสั่งนั้นจะได้รับจากหน่วยความจำ

และหน่วยควบคมจะแปลความหมายแล้วสงคาสั่งนั้นไปให้หน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ

หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่สั่งมาจากหน่วยรับ

ข้อมล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจาก

การประมวลผลแล้วเพื่อเตรียม ส่งไปยังหน่วยแสดงผล เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้

รวดเร็วที่สุด

2.1 หน่วยคุมจำหลัก (Main Memory)

ROM (Read Only Memory)

-เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรืออข้อมูลอยู่แล้ว

- สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้

- และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป

RAM (Random Access Memory)

- เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

- เมื่อได้ไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที่

2.2 หน่วยความจำรอง (Second Memory)

เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-สงข้อมูลชนิดต่างๆ เช่น

- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ

เก็บไฟล์เอกสาร

เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรม ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

- ซีดี(Compact Disk - CD)

เป็นอุปกรณ์บันทกขอมลแบบดิจิทัล

 เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง

 เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย

 ทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่ เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต

ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD)

วีซีดี (Video CD - VCD)

ซีดี-อาร์ (CD Recordable)

ซีด-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable)

ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)

-ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว

มีลักษณะเป็นแผนกลมบางทาจากไมลาร์ (Mylar)

สามารถบรรจุขอมลไดเพยง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น

- เฟสไดร์

- การ์ดเมมโมรี่

เป็นต้น

3. อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)

อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ

- จอภาพ

- เครื่องพิมพ์

- เครื่องพิมพ์ (Printer) แบบพล็อตเตอร์ (plotter)

- ลำโพง

-ซอฟต์แวร์ (Software)

ซอฟทแวร์ เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของ ภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง

ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ- ระบบปฏิบัติการหรอควบคุมเครื่อง

ยูติลิตี้ – โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง

ดีไวท์ไดร์ฟเวอร์ – โปรแกรมไดร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ตอพวง

ตัวแปลภาษา-โปรแกรมแปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาระดับสูง

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะดาน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เชน Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สาหรบงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการราน Seven ฯลฯ

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานดานเอกสาร (Microsoft Word) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทาแผนพบ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

-บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ (People ware)

หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)

คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User)

คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (People ware) ทั้งสิ้น

- ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information)

1. ในการคำนวณ ข้อมูล (data) เป็นสารสนเทศ (information) ที่สามารถแปลเป็นรูปแบบที่สะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือประมวลผล สัมพัทธ์กับคอมพิวเตอร์ และตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล เป็นสารสนเทศที่แปลงเป็นรูปแบบ binary หรือ ดิจิตอล

2. ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ติดต่อภายในหรือ การสื่อสารผ่านเครือข่าย ข้อมูลมักจะแยกจาก "control information", "control bits" และคำที่คล้ายกันในการชี้หน่วยการส่งเนื้อหาหลัก
3.
ในด้านโทรคมนาคม ข้อมูลบางครั้งหมายถึง สารสนเทศ ของรหัสแบบดิจิตอล ที่แยกจากสารสนเทศของรหัสแบบอะนาล็อก เช่น โทรศัพท์แบบดั้งเดิม โดยทั่วไป อะนาล๊อก หรือเสียง ( voice) มีการส่งผ่านที่ต้องการ การติดต่อที่ต่อเนื่อง สำหรับการกำหนดเวลาของชุดการส่งที่สัมพันธ์กัน การส่งผ่านข้อมูล สามารถส่งด้วยการติดต่อแบบเป็นช่วงในรูปของแพ็คเกต

- การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล - มอง, ฟัง , สัมผัส

- การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ

ปฐมภูมิ การสังเกต,การสัมภาษณ์,การจดบันทึก,การสำรวจ

ทุติยภูมิ ผลจากการนำข้อมูลปฐมภูมิมาประมวลผล

- การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)

ข้อมูลภาพ (Image Data)

ข้อมูลเสียง (Sound Data)

ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

- (Information)

ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้

ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสนใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย

2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำ

- ร้านขายของสะดวกซื้อ

เครื่องอ่านบาร์โค้ด (อังกฤษ: barcode reader) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องอ่านรหัสเราเรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูป เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป

เพราะ ร้านสะดวกซื้อสามารถใช้ ระบบ Hardware คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้ในการสแกนบาร์โค้ดสินค้า

ในระบบ Software คือเป็นข้อมูลที่เราป้อนสินค้า ราคา ใส่ลงไป

3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของ


คำถามท้ายบทที่ 3

คำถามท้ายบทที่3
1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง


ขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.
การเตรียมข้อมูลเข้า (Input Data)
คือการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะทำการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผล ซึ่งประกอบไปด้วย
1.1
การลงรหัส (Coding) คือการใช้รหัสแทนข้อมูล ซึ่งทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปที่กระทัดรัดเพื่อสะดวกแก่การประมวลผล รหัสที่ใช้อาจเป็นตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลขก็ได้
1.2
การแก้ไข (Editing) คือการตรวจสอบข้อมูล ให้มีความถูกต้อง และเป็นไปได้ (เช่น ข้อมูลอายุ ควรจะอยู่ระหว่าง 0 - 100 ปี เป็นต้น) ก่อนนำไปใช้งาน โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จำเป็น
1.3
การแยกประเภท (Classifying) คือ การจัดประเภทของข้อมูล หรือจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกแก่การนำไปประมวลผล เช่น ร้านค้าย่อย อาจจะจำแนกเป็น ชนิดของสินค้า แผนกที่ขาย ผู้ขาย หรือจำแนกหมวดอื่นๆ ตามที่ผู้จัดร้านเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
1.4
การแปรสภาพข้อมูล (Transforming) คือ การเปลี่ยนสื่อ หรือตัวกลางที่ใช้บันทึกข้อมูลเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปประมวลผลต่อไปได้ เช่น การเจาะข้อมูลลงบนบัตร เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้
2.
การประมวลผล (Processing)
ได้แก่ วิธีการจัดการกับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการบวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณ และเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ที่กำหนดไว้
3.
การนำเสนอข้อมูล (Output)
คือ การเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้ผู้อื่นทราบ อาจจะแสดงไว้ในรูปรายงาน ตาราง หรือแบบใดก็ได้ที่สามารถนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
3.1
การสรุปผล (Summarizing) คือการนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มากลั่นกรอง และย่อลงให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติให้คล่องตัว และใช้ประกอบการตัดสินใจ
3.2
การเก็บข้อมูล (Storing) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ได้อีกในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ในระบบคอมพิวเตอร์มักจะบันทึกลงเทปแม่เหล็กหรือจานแม่เหล็ก
3.3
การค้นหาและการเรียกใช้ข้อมูล (Searching and Retrieving) คือ การค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูล และเรียกข้อมูลนั้นกลับมาใช้งาน (เช่นนำข้อมูลกลับมาแก้ไข ปรับปรุง)
3.4
การทำสำเนาข้อมูล (Reproduction) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบที่ได้มาใหม่ หรือข้อมูลจากการประมวลผล ในบางครั้งต้องการข้อมูลหลายชุด จึงจำเป็นต้องมีการสำเนาข้อมูลออกมาใช้หลายๆ ชุด



2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปหาใหญ่พร้อมอธิบายความหมายโครงสร้างข้อมูลแต่ละระบบ

ในการจัดการข้อมูลจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล ลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบมี ดังต่อไปนี้

บิต (Bit = Binary Digit)

เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1


ไบต์ (Byte)
เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร
ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง
เรคคอร์ด (Record)
เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก
ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้


3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีระบบใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร


ตอบ ใช้ระบบการคีย์ตัวเลขแทนการยิงบาร์โค้ดสินค้า จะมีรหัสสินค้าแต่ละชนิด และการใช้ซอฟต์แวร์การแสกนนิ้วมือที่ประตู


4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์


ตอบ ข้อมูลแบบแบชคือการรวมรวมข้อมูลและแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆแล้วจึงส่งเครื่องคอมฯทำการประมวลผลครั้งเดีนวจะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมฯ


ข้อมูลแบบเรียลไทม์ คือการประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมฯแล้วจะได้ผลออกมาทันทีแสดงผลข้อมูลทัทีทันใดโดยการแสดงผลทาง Out put




คำถายบทที่ 4

1. 1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบาง จงเปรียบเทียบ

1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวันคือ สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน

2 สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน

3 เส้นใยนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็ดเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมากและไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเทอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามรถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามาถใช้สื่อกลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก

2. 2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

1.สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้

2. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้

3. ประหยัด

4. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน

3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือขาย (LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร

Wireless LAN

-Fast Decision-Making เมื่อพนักงานหรือผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพขึ้น

-Sale-Force Efficiency พนักงานขายสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามในบริษัท ทำให้ลูกที่มาติดต่อเกิดความพอใจในการบริการ

- Better Accuracy การติดต่อสื่อสารอย่างทันท่วงทีกับทีมงานโดยผ่าย Mobile Device ทำให้ Manager สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

- Higher Employee Satisfaction พนักงานเกิดความพอใจในการทำงานมากขึ้น เพราะสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ในระบบอินเตอร์เน็ต รับส่ง Email หรือติดต่อสื่อสารกับเพื่อนรวมงานได้ตลอดเวลาทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะทุกที่ในบริษัทสามารถเป็นห้องทำงานได้ตลอดเวลา

- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเครือข่ายในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ Wireless Network น้อยกว่าระบบ Wired Network ซึ่งในระบบ Wired Network ต้องเดินสายไฟไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ส่วนในระบบ Wireless Network มีการเดินสายไฟเฉพาะจุดที่เป็น Access Point เท่านั้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟน้อยกว่า

ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ เพราะอุปกรณ์ Wireless ไม่ต้องใช้สาย จึงทำให้ลดความซับซ้อนในการดูแลระบบเพราะการเพิ่มหรือลดอุปกรณ์สามารถทำได้ทันที

4. อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอยางไร

ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ละ web
site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี
หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร
ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง
นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้ การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด
ความสามารถของตนเอง ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group

คำถามท้ายบทที่5

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง คือ

อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ

1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ

ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน

2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ

และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี

ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์

1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)

2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)

3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)

4. อาชญากรอาชีพ (Career)

5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)

6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)

7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

2.อธิบายความหมายของ

2.1 Hacker

ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง

2.2 Cracker

บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัวมีความหมายเดียวกับHacker แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการ กระทำ

2.3 สแปม

คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัว และผิดกฎหมาย

2.4 มาโทรจัน

เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที มักถูกแนบมากับอีการ์ด อีเมล์ หรือการดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เนต

2.5 สปายแวร์

โปรแกรมที่แอบเขามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา เพื่อสร้างความรำคาญให้ผู้ใช้งาน เช่น หน้า Pop Up โฆษณา

5. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรอ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 ตัวอย่าง

ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการ จึงมี กฏหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่กำหนดบทลงโทษ

๑)มาตรา ๕ ระบุว่า ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๒)มาตรา ๗ ระบุว่า ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ เช่น แฮกเกอร์หรือพวกมือดีชอบแอบก๊อปปี้ขโมยข้อมูลของบริษัทออกไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจะโดนคดีอาญายอมความไม่ได้ ติดคุกสูงสุดตั้งแต่ เดือน ถึง ๒ ปี ปรับสูงสุดอีกตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐๔๐,๐๐๐ บาท

๓)มาตรา ๙ ระบุว่า ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๔)มาตรา ๑๐ ระบุว่า ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น การกระทำประเภทมือดีแอบลบไฟล์คนอื่น สร้างไวรัสที่ทำลายข้อมูล หรือมีการแก้ไขข้อมูลบางส่วน รวมไปถึงการกระทำที่มีผลให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เป็นไปตามปกติด คือ ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน พวกนี้โดนเล่นงานหมด

๕)มาตรา ๑๔ ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่น

๑.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

๒.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม